คบเพลิง

ธงชาติสหภาพโซเวียต

สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (รัสเซีย: Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; อังกฤษThe Union of Soviet Socialist Republics - USSR) นิยมเรียกสั้นว่า สหภาพโซเวียต (อังกฤษ: Soviet Union)

มิคาอิล กอร์บาชอฟ

                                                   
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต


การล่มสลายของสหภาพโซเวียต เป็นชื่อเรียกช่วงเวลาระหว่าง ปี ค.ศ. 1985 ถึง ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นาย มิคาอิล กอร์บาชอฟ เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต เขาได้เดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของสหภาพโซเวียต ภายใต้โครงการ เปเรสตรอยกา และกลาสต์น็อตซึ่งเป็นการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนบุคคล ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวทำให้ประชาชนในสหภาพโซเวียตตระหนักถึงเสรีภาพในการดำรงชีวิต ทำให้เกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 ในที่สุดการขึ้นสู่อำนาจของกอร์บาชอฟ
มิคาอิล กอร์บาชอฟ แม้ว่าการปฏิรูปก่อนหน้านั้นได้ล่าช้าลงในช่วงปี 1964-1982 แต่ว่าการที่คนรุ่นใหม่ได้มีอำนาจแทนคนรุ่นเก่าก็ได้สร้างสภาวะที่เหมาะแก่การปฏิรูปขึ้นอีกครั้ง ความสัมพันธ์ของสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาที่เปลี่ยนแปลงไปก็ยังเป็นความจำเป็นหนึ่งของการปฏิรูป แม้ว่าประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ได้ล้มเลิกนโยบายประนีประนอมหลังจากที่สหภาพโซเวียตโจมตีอัฟกานิสถาน แต่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก็ได้ขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เหตุการณ์วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในสมัยแรกของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนในเวลานั้นเอง มิคาอิล กอร์บาชอฟ ก็ได้สนับสนุนนโยบายที่จะนำไปสู่การล่มสลายทางการเมืองของสหภาพโซเวียต โดยการควบคุมเศรษฐกิจผ่านทางนโยบายกลาสนอสต์ (การเปิดกว้างทางการเมือง) เปเรสตรอยกา (การวางโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่) และอุสโคเรนิเย (การเร่งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ) เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตก่อนหน้านั้นได้รับผลเสียจากอัตราเงินเฟ้อแฝงและการขาดแคลนวัตถุดิบอันเนื่องมาจากการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ
นโยบายเปเรสตรอยกาและกลาสนอสต์

มิคาอิล กอร์บาชอฟ ได้เป็นผู้นำสหภาพโซเวียต นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 1985 ไม่นานหลังจากการเสียชีวิตของคอนสแตนติน เคอร์เชนโก กอร์บาชอฟได้ริเริ่มการปฏิรูปทางการเมืองหลายอย่างภายใต้นโยบายที่เรียกว่า กลานอสต์ ประกอบด้วย การลดความเข้มงวดในการเซนเซอร์ การลดอำนาจหน่วยเคจีบี และการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นั้นมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดการต่อต้านการปฏิรูปทางเศรษฐกิจจากกลุ่มอำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยมภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การปฏิรูปนี้ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์จะต้องมาจากการเลือกตั้ง (โดยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เอง)ซึ่งเป็นการใช้ระบบนี้ครั้งแรก ท่ามกลางการคัดค้านจากกลุ่มอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตาม การลดความเข้มงวดในการเซนเซอร์และความพยายามที่จะสร้างการเมืองที่เปิดกว้างมากขึ้นโดยกอร์บาชอฟ ได้ปลุกความรู้สึกชาตินิยมและต่อต้านรัสเซียในสาธารณรัฐเล็กๆ ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในสหภาพโซเวียต ในคริสต์ทศวรรษ 1980 เสียงที่เรียกร้องอิสรภาพจากการปกครองจากมอสโกได้ดังขั้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐแถบทะเลบอลติก คือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ที่รวมกับสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 1940 โดยโจเซฟ สตาลิน ความรู้สึกชาตินิยมนั้นก็ยังได้แพร่หลายในสาธารณรัฐอื่น ๆ เช่น ยูเครนจอร์เจียและอาเซอร์ไบจาน ขบวนการชาตินิยมเหล่านี้ได้เข้มแข็งขึ้นอย่างมากเมื่อเศรษฐกิจของโซเวียตตกต่ำ รัฐบาลที่กรุงมอสโกนั้นกลายเป็นแพะรับบาปของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แสดงว่า กอร์บาชอฟนั้นได้ปลดปล่อยพลังที่จะทำลายสหภาพโซเวียตไปแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ

การล่มสลายของสหภาพโซเวียตเกิดประเทศใหม่ 15 ประเทศ

1. รัสเซีย - สหพันธรัฐรัสเซีย Russian Federation (Russian SFSR)เมืองหลวง คือ มอสโก

2. ยูเครน Ukrainian SSRเมืองหลวง คือ เคียฟ Kiev

3. อาร์เมเนีย Armenian SSRเมืองหลวง คือ เยราวาน Yerevan

4. เบลารุส Byelorussian SSR เมืองหลวง คือ มินสก์ Minsk

5. จอร์เจีย Georgian SSR เมืองหลวง คือ ทบีลีซี Tbilisi

6. มอลโดวา Moldavian SSR เมืองหลวง คือ คีชีเนา Chişinău

7. คาซัคสถาน Kazakh SSR เมืองหลวง คือ อัลมา-อาตา Alma-Ata

8. อุซเบกิสถาน Uzbek SSR เมืองหลวง คือ ทัสเคนต์ Tashkent

9. เติร์กเมนิสถาน Turkmen SSR เมืองหลวง คือ อัชกาบาด Ashgabat

10. คีร์กิซสถาน Kirghiz SSR เมืองหลวง คือ บิชเคก: Bishkek)

11. ทาจิกิสถาน Tajik SSRเมืองหลวง คือ ดูชานเบ Dushanbe

12. อาเซอร์ไบจาน Azerbaijan SSRเมืองหลวง คือ บากู Baku

13. เอสโตเนีย* Estonian SSRเมืองหลวง คือ ทัลลินน์Tallinn

14. ลัตเวีย*Latvian SSR เมืองหลวง คือ ริกา Riga

15. ลิธัวเนีย*Lithuanian SSR เมืองหลวง คือ วิลนิอุส Vilnius

* (เอสโตรเนีย ลัตเวียและลิธัวเนีย) กลุ่มประเทศในทะเลบอลติก




Read More …


จึงเป็นคำถามที่คำตอบอาจอยู่แต่ในสายลม-ถึงที่สุดแล้ว ประชาชนเป็นใหญ่จริงหรือ กับระบอบประชาธิปไตยในบ้านเมืองเรา ย้อนหลังจากวันนี้ไป 101 ปี ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2452 วีรบุคคลผู้ที่เหมือนว่าหน่วยงานเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยไม่อยากจะจดจำจารึกไว้ให้เยาวชนเรียนรู้ ถือกำเนิดเกิดขึ้นบนแผ่นดินอีสาน บุคคลผู้นั้นชื่อ "เตียง ศิริขันธ์"

ด้วยชีวิตวัยเยาว์ในบ้านเกิดจังหวัดสกลนคร เตียง ศิริขันธ์ได้รับการส่งเสริมจากบุพการีให้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับตนเอง จนสามารถเรียนจบประกาศนียบัตรสูงสุดสำหรับครู หรือครู ป.ม.จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในเวลาต่อมาได้เข้าทำงานเป็นครูสมดังปรารถนา


แต่แล้วเพราะความคิดก้าวหน้า กล้าพูด กล้าทำ กล้ายืนหยัดต่อกับกรกับสิ่งอยุติธรรมทั้งหลาย ในที่สุดก็ถูกข้อหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ร่วมกับเพื่อนครูอีก 2 คน เหตุเพราะเช้าวันหนึ่งมีมือมืดเอาธงแดงมีตราค้อนเคียวชักขึ้นบนยอดเสาแทนธงชาติ ซึ่งในยุคนั้นมิใช่เรื่องแปลกอะไรหากจะมีนักคิด-เขียนหัวก้าวหน้าโดนข้อหานี้ ประชาชนคนไหนที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองไม่ชอบขี้หน้าอาจถูกยัดข้อหานี้เอาง่ายๆ ถือเป็นข้อหาคลาสสิกเอาเลยทีเดียว

และนี่เองถือเป็นจุดหักเหของชีวิตครูหนุ่มไฟแรงแห่งแผ่นดินอีสานให้หันหน้าเข้าสู่แวดวงการเมือง เพราะถึงแม้ว่าศาลจะพิจารณาและพิพากษายกฟ้องแล้วก็ตาม แต่การที่ต้องถูกกล่าวหาและพัวพันกับคดีอยู่เป็นเวลายาวนาน ทำให้นายเตียงตัดสินใจเปลี่ยนเข็มชีวิตตนเข้าสู่สังเวียนรัฐสภา

ปี 2476 เดือนพฤศจิกายน ประเทศไทยมีการเลือกตั้งครั้งแรก เป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม ส่วนการเลือกตั้งโดยทางตรงของไทยครั้งแรกมีขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480 นายเตียงได้สมัครเข้ารับเลือกตั้งในจังหวัดสกลนคร และก็ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรของจังหวัดสกลนครเรื่อยมา


ด้วยความเป็นผู้แทนราษฎรหนุ่มไฟแรง มีอุดมการณ์แก่กล้า กอปรกับมีเพื่อน ส.ส.จากที่ราบสูงเหมือนกัน ร่วมทำงานเป็นทีมเวิร์ค คือ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี, นายจำลอง ดาวเรือง ส.ส.จังหวัดมหาสารคาม และนายถวิล อุดล ส.ส.จังหวัดร้อยเอ็ด จนได้รับสมญานาม 4 ส.ส.อีสาน ดังที่กวีซีไรต์เลือดอีสาน ไพวรินทร์ ขาวงาม ได้ประพันธ์ไว้ว่า...

ดาวหนึ่งทองอินทร์นั้น เลือดอุบล
ดาวหนึ่งเตียงเลือดสกล เลือดสู้
ดาวหนึ่งถวิลเลือดคน ร้อยเอ็ด
ดาวหนึ่งจำลองกู้ เลือดสารคาม 
(จากหนังสือ เตียง ศิริขันธ์ ขบวนการเสรีไทยสกลนคร โดย ผศ.ปรีชา ธรรมวินทร หน้า 142)

เห็นได้จากการอภิปรายในสภาปี 2487 ต่อต้านโครงการนครหลวงเพ็ชรบูรณ์และพุทธบุรีมณฑลสระบุรีของรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม เนื่องจาก ส.ส.อีสานทั้งสี่เห็นว่าโครงการดังกล่าวสร้างความทุกข์ยากลำบากให้กับประชาชนอย่างหนัก โดยเฉพาะโครงการย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่จังหวัดเพชรบูรณ์เพราะเมืองเพชรบูรณ์สมัยนั้นเป็นป่าทึบ เต็มไปด้วยเชื้อไข้มาลาเรีย ปรากฏว่าพอสร้างไปได้ 1 ปี มีประชาชนถูกเกณฑ์ไปทำงานกว่า 100,000 คน ป่วย 14,316 คน และเสียชีวิต 4,040 คน ประชาชนที่ถูกเกณฑ์โดยได้รับสัญญาว่าจะจ่ายค่าจ้างให้วันละ 5 สตางค์ต่อวัน ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ภาคอีสาน

พอพระราชกำหนดนี้เข้าสู่สภา ปรากฏว่า ส.ส.ทั้งสี่ได้ร่วมกันอภิปรายคัดค้านอย่างหนัก และเมื่อลงเสียงคะแนนแบบลับ เพราะส.ส.ทั้งสี่เห็นว่าหากให้ยกมือลงคะแนนอย่างเปิดเผย ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลอาจเกิดการกดดันเกรงใจไม่กล้ายกมือสนับสนุน ในที่สุดรัฐบาลก็แพ้ไปด้วยคะแนน 48 ต่อ 36 เสียง เป็นผลให้รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ต้องลาออก


แต่ก็นั่นแหละ การเมืองมีขึ้นมีลงตามกฎอนิจจลักษณะ หลังจากรัฐนาวาเผด็จการทหารของจอมพล ป.พิบูลสงคราม อับปางลงในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนอับปางรัฐบาลจอมพล. คนนี้ ได้นำพาประเทศเข้าร่วมจมหัวจมท้ายกับญี่ปุ่นจนหวุดหวิดเกือบต้องกลายเป็นประเทศพ่ายแพ้สงครามไปด้วย ยังดีที่ ท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งสมัยนั้นได้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ใช้ปัญญาอย่างแยบคายกอบกู้คืนมาได้ โดยจัดตั้งองค์กรลับภายใต้ชื่อ "ขบวนการเสรีไทย" (Free Siamese Movement) และช่วงนี้นี่เองที่นายเตียง ศิริขันธ์ หรือที่ใช้ชื่อรหัสว่า "พลูโต" มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อขบวนการเสรีไทยสายอีสาน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร เนื่องจากได้เป็นแกนนำจัดตั้งค่ายเสรีไทยเพื่อฝึกฝนกำลังพล มีประชาชนเข้าร่วมปฏิบัติการกู้ชาติครั้งนี้นับหมื่นคนจากทั่วทุกค่ายในเขตจังหวัดภาคอีสาน

ทั้งๆ ที่งานเสรีไทย เป็นงานอุดมการณ์ทำเพื่อชาติ อาจต้องยอมพลีแม้กระทั่งชีพตนเอง ไม่มีผลตอบแทนอันใด จะมีก็แต่ความภาคภูมิใจในการได้ทำงานเพื่อพิทักษ์มาตุภูมิ แต่ประชาชนทั้งชาวจังหวัดสกลนครและจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสานก็พร้อมใจกันเข้าร่วม เนื่องจากทุกคนมีใจรักชาติ และส่วนหนึ่งเกิดจากศรัทธาต่อนายเตียง ศิริขันธ์ผู้เป็นบุคคลต้นแบบเรื่องความเสียประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อประเทศชาติ ดังที่คุณฉลบชลัยย์ พลางกูร (ภรรยาของจำกัด พลางกูร ผู้เดินทางไปประเทศจีนเพื่องานเสรีไทยและเสียชีวิตในระหว่างเดินทาง) กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า...


"...ตอนนั้นคุณเตียงให้คุณนิวาศน์ ถอดเครื่องประดับทั้งหมด มีสายสร้อย ล็อกเกต แหวน รวมทั้งแหวนของตัวเองด้วย มอบให้จำกัดเผื่อว่าจะไปตกทุกข์ได้ยาก เพราะการเดินทางนั้นมืดมนเต็มที ญี่ปุ่นอยู่เต็มไปหมด ดิฉันเชื่อว่าถ้าคุณเตียงรู้ตัวก่อนนั้น คงจะรวบรวมเงินทองให้จำกัดอีกเป็นแน่ และของเหล่านี้ (จำกัดเขียนไว้ในสมุดบันทึก) ว่าได้ช่วยเขาอย่างมากจริงๆ..." (จาก คำเกริ่นนำโดย ฉลบชลัยย์ พลางกูร ในหนังสือ เตียง ศิริขันธ์วีรชนนักประชาธิปไตย ขุนพลภูพาน โดย ศ.วิสุทธ์ บุษยกุล หน้า 17)


พลพรรคเสรีไทยภาคอีสานจากค่ายต่างๆ ฝึกฝนพัฒนาตนแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ โดยได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธยุทธปัจจัยจากประเทศสัมพันธมิตร แม้ว่าสุดท้ายแล้วญี่ปุ่นกลับประเทศฝ่ายอักษะ จะประกาศยอมแพ้สงครามเสียก่อนที่กองทัพเสรีไทยได้สำแดงพลังต่อสู้ให้ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก แต่ถึงกระนั้น ด้วยอุดมการณ์อันสูงส่ง แสดงจุดยืนอย่างชัดเจน มีหลักฐานทั้งด้านเอกสารและกำลังพลเพียบพร้อม สามารถอ้างเป็นหลักฐานให้ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรเชื่อว่าประเทศไทย ไม่ใช่พวกเดียวกับญี่ปุ่น ดังคำสุนทรพจน์ของ "รูธ" ที่ได้กล่าวในพิธีสวนสนามกองทัพเสรีไทยท่อนหนึ่งว่า

"...เสรีไทยมิใช่ผู้ที่อยู่ใต้ครอบครองของญี่ปุ่น ความหมายก็คือไทยที่เป็นเสรีไทยทั้งหลายที่ต้องการให้ประเทศของตนเป็นอิสระ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ต่างประเทศรับรองการกระทำของผู้ที่อยู่ในต่างประเทศ หาใช่คณะหรือพรรคการเมืองไม่ ส่วนองค์การต่อต้านภายในประเทศนั้น ในชั้นเดิมไม่มีชื่อเรียกองค์การว่าอย่างไร การชักชวนให้เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2488 เป็นต้นมา ก็ชักชวนต่อต้านญี่ปุ่นให้พ้นประเทศ และเมื่อองค์การภายในและภายนอกประเทศติดต่อกันแล้วในชั้นหลัง สาส์นที่เจ้าหน้าที่ต่างประเทศได้มีมายังข้าพเจ้า เรียกขานองค์การที่เราร่วมงานระหว่างคนทั้งภายในและภายนอกนี้ว่า Free Siamese Movement หรือขบวนการเสรีไทย เป็นนามสมญาที่ควรยอมรับ ข้าพเจ้าก็ได้ถือเอานามนี้โต้ตอบกับต่างประเทศโดยใช้นามองค์การว่า องค์การขบวนเสรีไทย...." (จากหนังสือเตียง ศิริขันธ์ ขบวนการเสรีไทยสกลนคร โดย ผ.ศ.ปรีชา ธรรมวินทร หน้า 132)


หลังจากอุทิศชีวิตเป็นแกนนำจัดตั้งเสรีไทยสายอีสาน ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงจากท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่ง นายเตียง ศิริขันธ์ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ร่วมกันนำพาประเทศผ่านพ้นมรสุมครั้งใหญ่มาได้ พบกับช่วงวันฟ้าใสในหน้าที่การงาน บำเพ็ญประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ได้เป็นรัฐมนตรีหลายสมัย ตั้งแต่รัฐบาลทวี บุณยเกตุ รัฐบาลเสนีย์ ปราโมช รัฐบาลปรีดี พนมยงค์ 1, 2, 3 และรัฐบาลถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ 1, 2, 3, 4 มีผลงานเด่นๆ มากมาย เป็นต้นว่าได้ก่อตั้ง "สันนิบาตแห่งเอเชียอาคเนย์" (Union of Southeast Asian) ซึ่งก็คือที่มาขององค์การ "อาเซียน" ในปัจจุบัน


แต่สุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องชะงักงันเมื่อกลุ่มอำนาจนิยม-อนุรักษนิยมทำการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤษภาคม 2480 คณะกลุ่มโจรปล้นประเทศพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อกำจัดขั้วอำนาจเก่าสายท่านปรีดี พนมยงค์ โดยเอา "กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8" เป็นข้ออ้างมาบ่อนทำลาย สร้างความชอบธรรมในการล้มล้างศัตรูทางการเมือง เข้ากุมอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ เป็นผลให้ท่านปรีดีต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ 4 ส.ส.อีสานถูกโจรในเครื่องแบบวิสามัญฆาตกรรมทางเมืองอย่างโหดเหี้ยมป่าเถื่อนที่ทุ่งบางเขน นาย เตียง ศิริขันธ์ต้องหลบหนีเข้าป่าภูพาน และถูกยัดเยียดข้อหา "กบฏแบ่งแยกดินแดน" ในที่สุด และนายเตียงได้ฉายา "ขุนพลภูพาน" ก็จากการต่อสู้กับอำนาจรัฐครั้งนี้


ข่าวสหายรักร่วมอุดมการณ์ทั้งสี่ที่ถูกอำนาจสามานย์ทำร้ายปลิดชีวิต ทำให้นายเตียงเจ็บปวดขมขื่นเป็นอย่างมาก ถึงขนาดได้บันทึกไว้ว่า...
"...การตายของพวกนาย ทำให้เราเศร้าใจและว้าเหว่มาก แต่เมื่อนึกถึงการตายในสภาพเดียวกันของนักการเมืองและบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกหลายคนก็พอจะทำให้เราคลายความขมขื่นลงไปบ้าง ส่วนด้านประชาชนแล้วรู้สึกว่าจะเป็นเรื่องทำลายขวัญกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะประชาชนชาวอีสานการตายของพวกนายมิใช่เป็นการหลู่เกียรติกันอย่างเดียว แต่เป็นการท้าทายประชาชนชาวอีสานทั้งมวล...ถึงแม้พวกนายจากไปแล้วก็ตาม เรายังคงยึดมั่นในอุดมการณ์สละชีพอยู่อย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ชีวิตและความเป็นอยู่ของเราขณะนี้ ทั้งในด้านส่วนตัวและการเมือง ตกอยู่ในสภาวะที่เลวร้ายที่สุด มันเป็นอุปสรรคอันสำคัญยิ่งที่เราไม่สามารถปฏิบัติงานใดๆ ได้ดังปรารถนา ถ้าหากว่าเรามีอิทธิพลทางการเมืองขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นเราจะดำเนินงานตามอุดมคติของเราทันที" (จากข้อความปกหลังหนังสือ เตียง ศิริขันธ์ ลับสุดยอดเมื่อข้าพเจ้าเป็นเสรีไทย โดย สวัสดิ์ ตราชู)


แต่แล้วผลสรุปจบสุดท้ายของชีวิตขุนพลภูพาน-เตียง ศิริขันธ์ ผู้ยอมพลีทำเพื่อประเทศชาติ หลังจากเข้ามอบตัวเพื่อต่อสู้ตามขบวนการกฎหมาย นั่นคือ ถูกสังหารโหดจากน้ำมือโจรในเครื่องแบบ โดยลวงไปฆ่าหักคอที่พระโขนงแล้วเอาศพไปเผาอำพรางแถวป่าเมืองกาญจน์ ถือเป็นการปิดฉากบทบาททางการเมืองของขุนพลภูพาน-เตียง ศิริขันธ์ อดีตผู้นำเสรีไทยสายอีสานอย่างนิรันดร์


ดังนั้น เส้นทางและเวลาของชีวิตนายเตียง ศิริขันธ์ถือเป็นประวัติศาสตร์ที่พาดพิงเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่คู่ควรเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งในแง่ของการทำงานใต้ดินเพื่อกอบกู้เอกราชให้กับประเทศชาติ รอดพ้นจากการเป็นประเทศพ่ายแพ้สงคราม และในแง่ของสัจจะที่ว่ารัฐประหารไม่เคยให้อะไรแก่ระบอบประชาธิปไตย แก่ประชาชน นอกเสียจากอำนาจเพื่อผู้หิวกระหายอำนาจเท่านั้น 


บัดนี้ แม้ประเทศไทยจะเดินทางผ่านพ้นช่วงวันเวลาที่นายเตียง ศิริขันธ์ มีบทบาทชีวิตทางการเมืองมานานแล้ว แต่ทว่ายังมีบางสิ่งบางอย่างไม่เคยห่างหายจากไป เราเคยสูญเสียประชาธิปไตยให้กับเผด็จการรัฐประหารอย่างไร วันนี้รัฐประหารยังคงมีอยู่เช่นเดิม ยังคงเป็นชนวนให้เกิดการร้าวฉานของคนในประเทศ และสิ่งที่ตามมาคือความสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อของประชาชนผู้รักในระบอบประชาธิปไตยอยู่เหมือนเดิม

ถึงที่สุดแล้ว...จึงยังคงมีคำถามที่คำตอบอาจอยู่แต่ในสายลมเท่านั้น-ประชาชนเป็นใหญ่จริงหรือ กับระบอบประชาธิปไตยในบ้านเมืองเรา

Read More …


กำเนิดอาเซียน 
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้


สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Association of South East Asia Nations)
จุดเริ่มต้น นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ " ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และ ไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2527 ประเทศบรูไนดารุซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นเทศที่หก ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ ความกังวลต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ร่วมกัน ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกที่เสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากสหภาพยุโรป เพราะกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม.


วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

โครงสร้างและกลไกการดำเนินงาน
นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัดทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือในรายละเอียดมากขึ้น


หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน
1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

สัญลักษณ์อาเซียน
คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน


สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า

สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง



คำขวัญ

"One Vision, One Identity, One Community"

(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)



Read More …

ประเทศไทย

คุณเคยสงสัยและตั้งคำถามกับคำว่า ไทย  คำนี้หรือไม่ว่ามีความหมาย นัยยะ หมายความตามชื่อว่าอะไร ข้าพเจ้าเคยถามคำถามนี้กับหลายท่านได้รับคำตอบแตกต่างกันออกไปว่า คำว่า ไทย  หรือ ประเทศไทย  หรืออาจจะเรียกอีกอย่างว่า ไทยแลนด์ หมายถึง ชือเรียกประเทศที่ถูกตั้งขึ้นสมัยยุคอาณานิคมตะวันตกล่าเมืองขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องเปลี่ยนชื่อจาก สยาม มาใช้คำว่า ไทย  โดยเติม  ท้ายหลังคำว่า ไท (อันหมายถึง ความเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่ใคร มิได้หมายถึงคนไท คนไตแต่อย่างใด) เพื่อความสวยงามของคำเท่านั้น  แต่เหตุที่มีคำว่า แลนด์  ต่อท้ายอีกนั่นก็เพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติในขณะนั้นที่ถูกบีบคั้นโดยตะวันตกที่มองว่าประเทศสยามไม่มีความศิวิไลซ์ เป็นดินแดนป่าเถื่อนจึงต้องเร่งพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรือง ทัดเทียมนานาอารยะประเทศ นี่เป็นเพียงคำตอบบางส่วนที่ได้รับ จึงช่วยคลายความสงสัยลงได้บ้าง แต่ก็ยังไม่ขจัดความฉงนสงสัยลงได้อย่างหมดจด หลังจากนั้นจึงได้ค้นคว้่าหาข้อมูลเพิ่มเติมและได้ความว่า

แผนที่สยาม

คำว่า ไทย มีความหมายในภาษาไทยว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก เดิมประเทศไทยใช้ชื่อ สยาม  (Siam) แต่ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบัน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2482[2] ตามประกาศรัฐนิยม ฉบับที่ 1 ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ใช้ชื่อ ประเทศ ประชาชน และสัญชาติว่า ไทย  โดยในช่วงต่อมาได้เปลี่ยนกลับเป็นสยามเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในช่วงเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุดได้เปลี่ยนกลับมาชื่อไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมา ช่วงแรกเปลี่ยนเฉพาะชื่อภาษาไทยเท่านั้น ชื่อภาษาฝรั่งเศส[3]และอังกฤษคงยังเป็น Siam  อยู่จนกระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 จึงได้เปลี่ยนชื่อภาษาฝรั่งเศสเป็น Thaïlande  และภาษาอังกฤษเป็น Thailand  อย่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม ยังเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ 

ที่มา : http://th.wikipedia.org

องค์พระสยามเทวาธิราช 

คำว่า “ไทย” เดิมรู้จักกันในนามของ “สยาม” และมีปรากฏในหลักฐานหลายแห่งที่เก่าที่สุด คือ ในศิลาจารึกของอาณาจักรกัมพูชาก่อนสมัยพระนครหลวง และพบในจารึกจาม พ.ศ.1593 จารึกพม่า พ.ศ.1663 และในแผนที่ภูมิศาสตร์ของจีนที่ทำขึ้นใน พ.ศ.1753 กำหนดเขตแดนของเสียมหรือสยามไว้ ส่วนคำว่า “ไท” มีความหมายกว้างกว่า คำว่า “ไทย” ดังนี้

1. ความหมายของคำว่า “คนไท” และ “คนไทย”
“ไท” มีความหมายกว้างกว่า คำว่า “ไทย” ไท หมายถึง ไทย (คนไทยในประเทศไทย)*และรวมถึงคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น คนไท คือ บุคคลซึ่งมีเชื้อชาติไทย พูดภาษาตระกูลไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีของคนเชื้อชาติไทย ทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะ ภาษาไทยในประเทศไทย ขนบธรรมเนียมที่ใช้ในประเทศไทย แต่หมายถึง ภาษาในเครือ ภาษาไทยซึ่งมีลักษณะเป็นคำโดดและเรียงคำ คำบางคำอาจใช้แตกต่างกัน ขนบธรรมเนียมก็อาจจะแตกต่างกันได้ ทั้งนี้เป็นไปตามเผ่าแต่ละเผ่า

2. ความหมายของคำว่า “สยาม”
คำว่า “สยาม” เป็นคำที่ชนชาติอื่นใช้เรียกประเทศไทย ปรากฏตามอักษรจำหลักใต้ รูปกระบวนแห่งที่ปราสาทนครวัดว่า “พลเสียม” หรือ “พลสยาม” จึงเข้าใจว่าคนชาติอื่นใช้เรียกประเทศตามขอม พระเจนจีนอักษร ได้แปลจดหมายเหตุจีน อธิบายคำว่า “สยาม” ไว้ว่าประเทศนี้เดิมเป็นอาณาเขต “เสียมก๊ก” อยู่ข้างเหนือ “โลฮุกก๊ก” อยู่ข้างใต้ ต่อมารวมเป็นอาณาเขตเดียวกัน จึงได้สนามว่า “เสียมโลฮุกก๊ก” แต่คนเรียกทิ้งคำ “ฮก” เสีย คงเรียกกันว่า “เสียมโลก๊ก” สืบมาเป็นอาณาเขตอยู่ดังกล่าว

พระราชบัญญัติ 
ว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ฉบับ ร.ศ. ๑๑๐ 
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
รัชกาลที่ ๕

“สยาม” เป็นคำที่เริ่มใช้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเรียกตัวเองว่า “กรุงศรีอยุธยา” ดังจะเห็นได้จากข้อความที่ปรากฏตามหนังสือสัญญาที่ทำกับประเทศอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 3 เรียกประเทศว่า “กรุงศรีอยุธยา” และเพิ่งปรากฏหลักฐานว่าประเทศไทย เรียกตัวเองว่า “ประเทศสยาม” ในสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อทรงทำสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ และทรงลงพระนามาภิไธยว่า “REX SIAMNIS”** และทรงหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า “พระสยามเทวาธิราช”

ต่อมาใน พ.ศ.2481 นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม (ยศและบรรดาศักดิ์ขณะนั้น) เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” และเมื่อเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 แล้ว นายควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประมาณ 3 เดือนเศษ รัฐบาลนี้เรียกชื่อประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสว่า “SIAM” อีกครั้ง ถึงเดือนเมษายน 2491 รัฐบาลพิบูลสงครามเข้ารับตำแหน่งแทน ได้เปลี่ยนชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษว่า “THAILAND” และในภาษาฝรั่งเศส “THAILAND” ซึ่งรัฐบาลต่อ ๆ มาได้ใช้ตราบจนปัจจุบัน




Read More …

ธงชาติพม่า

โลกใบนี้แบ่งออกเป็นประเทศน้อยใหญ่นับได้ประมาณ 193 ประเทศ (ยังไม่รวมประเทศเกิดใหม่ที่จะตามหลังมาอีกหลายประเทศ) แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นที่จะเอ่ยถึงในหน้านี้ หากแต่มีคำถามหนึ่งเกิดขึ้นเสมอ ๆ ว่าเรารู้จักประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง นั่นคือ ประเทศพม่า (Burma หรือ Myanmar) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมียนม่าร์ กันมากน้อยแค่ไหน


อองซาน ซูจี

เมื่อพูดถึงประเทศพม่าหลาย ๆ ท่านคงจดจำได้เพียงแต่ในตำราประวัติศาสตร์ นึกภาพย้อนไปตั้งแต่สงครามรบพุ่งสมัยเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2310 ในสมัยพระเจ้าเอกทัศแห่งอาณาจักรอยุธยา  และพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่า มาจนถึงการกอบกู้เอกราชคืนจากพม่าของพระเจ้าตากสินมหาราช และครั้งสุดท้ายในสมรภูมิสงครามเก้าทัพสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

เด็กหญิงชาวพม่า

นอกจากนั้นแล้ว เรารู้จักประเทศนี้ (พม่า) เพียงไร ? ราวกับประเทศนี้ตั้งอยู่คนละซีกโลก เป็นเมืองลี้ลับในตำนานอันสาบสูญก็ไม่ปาน มิหนำซ้ำยังมีข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิต  ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเป็นอยู่อย่างน้อยมาก ยังไม่รวมถึงภาพที่มีทั้งหมดที่พอจะหาได้จากเว็บไซต์ อินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้อย่างจำกัด

การปฏิวัติชายผ้าเหลือง

ตลอดจนข่าวสารความเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงในประเทศพม่าที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย การปฏิวัติชายผ้าเหลือง สงครามระหว่างรัฐบาลกับชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์อันหลากหลายในประเทศพม่า ไปจนถึงการกักขังตัวนางอองซาน ซูจี ทั้งหมดเหล่านี้นับว่าเป็นความอ่อนด้อยของข้อมูลที่สามารถจะศึกษาค้นคว้าประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตใกล้เคียงกับประเทศไทยทางสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ซึ่งในอนาคตอันใกล้จะต้องเข้าเป็นส่วนหนึ่งในความร่วมมือระหว่างประเทศ หรืออีกชื่อเรียกหนึ่ง คือ ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาประวัติความเป็นมาของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ให้เกิดเป็นความเข้าใจอันดีต่อกันอันจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีตามมาในการพัฒนาภูมิภาคนี้ร่วมกัน
Read More …